ความรู้เกี่ยวกับ "วัคซีนโควิด"

"วัคซีนโควิด"

 

วัคซีนโควิด 19 มีหลายประเภท

วัคซีนโควิด

 

1. วัคซีนแบบ mRNA (เช่น Pfizer และ Moderna ของสหรัฐอเมริกา)

ทำโดยการส่ง mRNA เข้าสู่เซลล์ แล้วผลิตโปรตีนที่เหมือนหนามแหลมของไวรัสออกมา 

ส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้น เพราะตรวจจับโครงสร้าง spike ของไวรัสได้

ข้อดี คือ ทำในโรงงาน ผลิตได้ครั้งละมากๆ ราคาจะถูกกว่า

ข้อเสีย คือ พบผลข้างเคียงได้บ่อยกว่า วัคซีนแบบดั้งเดิม  และ RNA สลายตัวได้ง่าย ต้องเก็บในที่เย็นจัด -70 C ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานและการจัดเก็บ

.

2. วัคซีนแบบ DNA (เช่น AstraZeneca ของอังกฤษ)

ทำโดยส่ง DNA โควิดผ่านไวรัสที่ไม่ก่อโรคในคน เข้าสู่ร่างกาย เพื่อสร้าง mRNA และโปรตีน spike ของไวรัส 

เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน

ข้อดี คือ ทำในโรงงาน ผลิตได้ครั้งละมากๆ  ราคาจะถูกกว่า  เก็บในที่เย็น 2-8 C

ข้อเสีย คือ เป็นวัคซีนแบบใหม่ ยังไม่ทราบผลข้างเคียงแน่ชัด  มีความกังวลว่า DNA ไวรัสจะไปรวมกับ DNA มนุษย์ ต้องศึกษาเพิ่มเติม

 

3. วัคซีนแบบ ดั้งเดิม (เช่น SinoVac ของ จีน)

ทำโดยฉีดเชื้อไวรัส ที่อ่อนแรง หมดสภาพ เข้าสู่ร่างกาย

หลักการเดียวกันกับวัคซีน ที่ทำมาแต่ในอดีต ทำการศึกษาและใช้กันมานาน

เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ  วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า และ อื่นๆ อีกหลายชนิด

ข้อดี คือ ปลอดภัยกว่า ใช้วิธีนี้กันมานาน

ข้อเสีย คือ ต้องเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องแลปพิเศษ ต้นทุนสูง ราคาแพง ผลิตได้ครั้งละไม่มาก

___________________________________________________________

วัคซีน แต่ละชนิด #ราคาเท่าไหร่?

ราคาวัคซีน

- Astrazeneca จากอังกฤษ จะอยู่โดสละ 120 บาท

ซึ่งถูกว่าวัคซีนชนิดอื่นๆ 

เราจะได้วัคซีน #จำนวนมากแค่ไหน จะพอมั๊ย?

ไทย ทำสัญญาสั่งซื้อ 2 ล้านโดสจาก Sinovac ของจีน

แต่นั่นก็ไม่เพียงพอต่อประชากรไทย 70 ล้านคน

ทางออกที่ดูดี คือ Astrazeneca ที่ไทยสามารถผลิตเองได้ โดย Siam BioScience ได้ลิขสิทธิ์ในการผลิต ทำให้ไทยสามารถผลิตเพื่อใช้ในประเทศ

ได้มากถึง 26 ล้านโดส ภายใน มิ.ย. นี้

.

#การเก็บรักษา การขนส่ง และการใช้งาน

 ดูเหมือนว่า ถ้าเก็บที่ 2-8 C ได้ก็สะดวกดี คือ เก็บในตู้เย็น

แต่วัคซีน mRNA จากอเมริกา ต้องเก็บที่เย็นจัด -20 -70 C

ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งสูง และยากต่อการเก็บรักษา

.

#ประสิทธิภาพการทำงาน

- Pfizer และ Moderna เสร็จสิ้นการทดลองเฟส 3 แล้ว นำออกมาใช้งานจริงได้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ 90-95%

ส่วน Sinovac ยังไม่เสร็จดี อยู่เฟส 3 (ทดลองที่ตุรกี ได้ผล 90%, ผลที่บราซิล 50-90%, รอผลจากอินโดนีเซีย)

ส่วน Astrazeneca ได้ผล 70-90% (ซึ่งสูงกว่าข้อกำหนดของ WHO) สามารถนำมาใช้งานได้ และประเทศอังกฤษเอง ก็ใช้ Astrazeneca เป็นหลัก (100 ล้านโดส)

 

ที่มา:

ราคา https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651589

https://www.prachachat.net/general/news-587927

 

Sinovac 2-8 C: https://thestandard.co/sinovac-what-do-we-know-about/

 

อังกฤษ สั่ง Astrazeneca https://www.bbc.com/thai/international-55019177 See Less

 

ประเภทวัคซีน: เพจ อ.ยง ภู่วรวรรณ